สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคาดการณ์ตลาดยานยนต์เติบโตอย่างต่อเนื่องตามเศรษฐกิจและพร้อมให้การสนับสนุนการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเต็มที่
สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคาดการณ์ตลาดยานยนต์เติบโตอย่างต่อเนื่องตามเศรษฐกิจและพร้อมให้การสนับสนุนการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเต็มที่
สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคาดการณ์ตลาดยานยนต์เติบโตอย่างต่อเนื่องตามเศรษฐกิจและพร้อมให้การสนับสนุนการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเต็มที่
สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย (The Thai Automotive Industry Association : TAIA) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชน (TAIA Meets the Press) ในหัวข้อ “ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” โดยได้มองแนวโน้มตลาดยานยนต์ปี พ.ศ. 2567 เติบโตต่อเนื่องตามเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ
นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เผยว่า “ในปี พ.ศ. 2567 คาดการณ์การผลิตรถยนต์ของไทยโดยรวมที่ 1.9 ล้านคัน เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3.17% โดยแบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 7.5 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออก 1.15 ล้านคัน และสำหรับตัวเลขรถจักรยานยนต์ คาดการณ์ยอดผลิตที่ 2.12 ล้านคัน เติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 0.03%
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปี 2567 แบ่งเป็น 3 ด้าน
- ภาวะทางเศรษฐกิจ
- ภาระหนี้สินภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและหนี้เสีย (NPLs) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบโดยตรงต่อต่ออำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลงและยอดการจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ
- สถานการณ์ความเข้มงวดของการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากมูลค่า และแนวโน้มหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้น
- รถยนต์มือสองราคาตก เนื่องจากปริมาณซัพพลายล้นตลาด
- ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและยาวนาน เช่น ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน
2. นโยบายและกฎระเบียบด้านยานยนต์
- การบังคับใช้มาตรฐานมลพิษระดับ ยูโร 5 ทั้งรถยนต์และน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคารถยนต์และน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
- มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV 3.0 EV 3.5 และ มาตรการส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ รถบัสไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Bus & E-Truck) โดยให้บริษัท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
- การมุ่งสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Society) ภายในปี พ.ศ. 2593 ตามที่รัฐบาลได้แสดงเจตนารมย์ไว้เมื่อการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 26 ที่สกอตแลนด์เมื่อปี 2564 โดยมีการผลักดัน พรบ.อากาศสะอาด และพรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. การค้าระหว่างประเทศ
- ปัจจุบันประเทศไทยมีข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศแล้วจำนวนทั้งสิ้น 15 ฉบับ 19 ประเทศคู่ค้า และอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 5 ฉบับ โดยมีฉบับสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เช่น ข้อตกลงการค้าไทย-ยุโรป ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ไทย-เกาหลีใต้
- มาตรการกีดกันทางการค้า (Non Trade Barrier) เช่น มาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับรถยนต์ใหม่ (New Vehicle Efficiency Standard: NVES) คาดว่าจะบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป โดยเป็นการกำหนดเกณฑ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ที่นำเข้าไปยังประเทศออสเตรเลีย ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะ
สำหรับอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ในไทย มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยอดจดทะเบียนรวม 1.0 - 1.2 แสนคัน และส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่ง จากการตระหนักถึงความสำคัญของการลดภาวะโลกร้อนโดยการใช้รถไฟฟ้าจากประชาชนชาวไทย รวมถึงมาตรการการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐ นอกจากนี้นายสุวัชร์ยังกล่าวเสริมว่า “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) มาอย่างยาวนาน สร้าง Supply Chain และ Value Chain ที่เข้มแข็ง ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก ดังนั้น การรักษาฐานการผลิตรถยนต์สันดาปไว้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อีกทั้งสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ตามโนบาย “เป้าหมายในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี 2050” ของรัฐบาลผ่านนโยบายต่างๆ เช่น 30@30 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้ และการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ปี 2569 เพื่อส่งเสริมรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น”