ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ นำเสนอ “Deja vu: The Last Chapter” โดยศิลปินไทย นที อุตฤทธิ์

ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ นำเสนอ “Deja vu: The Last Chapter” โดยศิลปินไทย นที อุตฤทธิ์

   เมื่อ : 23 พ.ค. 2567

ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ นำเสนอ “Deja vu: The Last Chapter” โดยศิลปินไทย นที อุตฤทธิ์ 

25 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2567 

ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต (กรุงเทพฯ) อาคารปีเตอร์ซัน เลขที่ 712/1  ชั้น 9 ถนนสุขุมวิท 

พิธีเปิดนิทรรศการ: วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม  เวลา 13.00 – 16.00 น. 

 

ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ (RKFA) รู้สึกตื่นเต้นที่จะนำเสนอ “Déjà vu: The Last Chapter (Part 2)”  ภาคที่สองของซีรีส์สามตอน กับผลงานอันน่าหลงใหลของศิลปินชื่อดังชาวไทย นที อุตฤทธิ์ นิทรรศการนี้จะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 8 มิถุนายน 2567 ที่ ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ 

 

“Déjà vu: The Last Chapter” ผลงานภาคจบชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการนำเสนอโดยใช้ความรู้ และทักษะที่หลากหลายของนที อุตฤทธิ์ ครอบคลุมถึงงานกระจกสี งานปัก ประติมากรรม และงานจิตรกรรม สื่องานผสมแต่ละประเภทจะพาท่านร่วมทบทวนถึงช่วงเวลาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะตะวันตกอีกครั้ง โดยเชิญชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดทบทวนเรื่องราวที่เป็นที่ยอมรับของการพัฒนาทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซีรีส์นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามลำดับซึ่งจัดแสดงเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับการพิจารณาถึงเรื่องราววัฒนธรรมที่มีมา และการตีความหมายใหม่ทางประวัติศาสตร์ของศิลปิน 

 

สำหรับ Part2 ของภาคจบนี้มุ่งเน้นไปที่งานปักอันประณีต และการจัดวางสื่อผสมที่ผสมผสานศิลปวัตถุทางประวัติศาสตร์ ผลงานเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2563 โดยเกิดจากคำถามของศิลปินที่กระตุ้นถึงความคิดความรู้สึก “จะเกิดอะไรขึ้น หากพระพุทธเจ้าเสด็จไปยุโรปก่อนอารยธรรมตะวันตกจะรุ่งเรือง?” จากสถานการณ์สมมตินี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการทดลองงานศิลปะสำหรับซีรีส์นี้ สร้างสรรค์เรื่องราวสู่ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสานจินตนาการเข้ากับการคาดเดาทางประวัติศาสตร์ของศิลปิน 

 

การจัดวางแสดงผลงานในชุดนี้สื่อถึงแง่มุมที่สำคัญของซีรีส์ “Déjà vu” ของศิลปิน ผลงานถูกเชื่อมโยงถึงพระพุทธเจ้าที่มิได้เป็นเพียงแค่ตัวแทนบุคคลในพระคัมภีร์เท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ถักทอร้อยเรียงเป็นโครงสร้างของวัฒนธรรมทั้งตะวันออก และตะวันตก ด้วยการหลอมรวมวัตถุสะสมต่างๆ ที่ถูกนำมาประกอบ หรือประยุกต์เข้าด้วยกัน ผ่านกระบวนการหลอมละลายทั้งทางความหมาย และทางวัตถุ เพื่อให้เกิดความหมายใหม่อันนำมาซึ่งการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้า และจุดเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นกับประเพณีตะวันตก